วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

ชื่อเรื่อง การพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
ผู้วิจัย นายสุทัน มณีวัลย์ และคณะ
ตำแหน่ง ศึกษาธิการอำเภอคีรีมาศ และคณะวิจัยจากสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ/จังหวัดสุโขทัยหน่วยงาน สำนักงานศึกษาธิการอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยหน่วยงานที่ให้ทุน คณะกรรมการวิจัยการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ 2542 จำนวนเงิน 25,000
บาทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึษาและเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในทักษะการเรียนรู้ ทักษะการคิด และทักษะการสื่อสาร ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย จำนวน 4,772 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบเรื่อง การพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 21 ข้อ โดยได้ใช้แบบวัดศักยภาพของเด็กไทย ระดับมัธยมศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ในด้านทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต ข้อ 1 - ข้อ 21 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC เพื่อหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวแปร 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบที (T-test) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบเอฟ (F-test)ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย มีการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก (X = 3.08 S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาตนเองสูงสุด คือด้านทักษะการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านทักษะการคิด และด้านทักษะการสื่อสาร ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองของนักเรียนตามตัวแปร เพศ พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีการพัฒนาตนเอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนหญิงมีการพัฒนาตนเองมากกว่านักเรียนชายในข้อ 8 นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาทั้งส่วนตนและส่วนรวมได้และในข้อ 15 นักเรียนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข่าว ตามสถานการณ์หรือข้อความที่กำหนดให้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า นักเรียมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ มีการพัฒนาตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน ซึ่งนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนสูงมีการพัฒนาตนเองมากกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางและต่ำ และนักเรียนที่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางมีการพัฒนาตนเองสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ ผู้บริหารการศึกษา ครูผู้สอน และผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ควรจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการใช้เหตุผล ในการคิด การเชื่อมโยงหลักการทฤษฎีกับปัญหาใหม่ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะการคิด การแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ โดยให้รู้จักเรียงลำดับความเป็นเหตุเป็นผล นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมการอ่าน ซึ่งจะส่งผลต่อทักษะการสื่อสาร อันเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคลต่อไป
เอกสารอ้างอิง
สุทัน มณีวัลย์ และคณะ.(2542).การพัฒนาตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย.

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนที่ได้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

3.1 ความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้มีดังนี้
บทที่ 1
1. ได้รู้ถึงความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
3. การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ
4. การไหลเวียนของสารสนเทศ
5. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
บทที่ 2
1. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาการศึกษา
2. ห้องสมุดเสมือน
3. บทบาทของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับการสนับสนุนการศึกษา
4. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงศึกษา ปีพ.ศ. 2550-2554
6. บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา
การสมัคร e-mail และการส่งmailให้อาจารย์ การทำคลิบส่งอาจารย์
3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet)ต่อกระบวนการศึกษา
1. สืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนสาระความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
2. โต้ตอบและแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างทั่วถึง
3. สามารถเลือกวิธีการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น การศึกษาทางไกล การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีดอคอนเฟอร์เรนส์(Video Conference) ฯลฯ เป็นต้น
3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่เทียบกับการติดตั้งโปรแกรมการใช้งานบนเครี่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
-ข้อดีคือ 1. การค้นหาข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง
2. ไม่เปลืองเนื้อที่ของฮาร์ดดิสในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ข้อเสียคือ 1. ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและอาจมีปัญหาในช่วงที่สัญญานโทรศัพท์ขัดข้องทำให้
ค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตไม่ได้
2. อาจติดไวรัสได้ง่าย

ภาพประทับใจ

ความประทับใจที่เกิดสำหรับภาพนี้ คือ เป็นภาพที่เห็นแล้วรู้สึกอบอุ่น ไม่เหงา

ผู้สูงอายุ ไม่ถูกทอดทิ้ง เห็นแล้วปลื้มใจแทนคุณตาคุณยาย

สำหรับภาพนี้ มองแล้วไร้เดียงสาดี มีความบริสุทธิ์ของเด็กและความสุขใจของคนเป็นแม่

แนะนำตนเอง

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ


ชื่อ - สกุล วรรณรวี เจริญสุข เกิดวันที่ 29 กันยายน 2506

ชื่อเล่น น้ำฝน
ที่อยู่ 9/1 หมู่ที่ 2 ตำบลทองมงคล
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77230
อาชีพ รับราชการ
สถานที่ทำงาน เทศบาลตำบลร่อนทอง
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 ว
แรงจูงใจที่มาเรียน อยากรู้ว่าเราทำได้มั๊ย และได้มีความรู้ที่หลากหลาย
คติ ทำอะไรก็ได้ที่มีความสุขและไม่เดือดร้อนผู้อื่น
โทรศัพท์ 086-3553952